วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

ดนตรีไทย

     ดนตรีไทย  เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดียจีนอินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า


ประวัติ
ในสมัยกรุงสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล

สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง
ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่
รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม แล้วจึงเป็นดนตรีไทยที่เราได้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งความแตกต่างระหว่างวงต่างๆ ผู้ประพันธ์ท่านต่างๆ

เครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีไทยแบ่งตามลักษณะการทำให้เกิดเสียงได้เป็น 4 ประเภท คือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า

เครื่องดีด
-จะเข้
-กระจับปี่
-พิณ ได้แก่ พิณเปี๊ยะ พิณน้ำเต้า พิณอีสาน
-ซึง

Image result for จะเข้  Image result for พิณ
เครื่องสี

-ซอด้วง
-ซอสามสาย
-ซออู้
-สะล้อ
-ซอแฝด
-รือบับ
-ซอกันตรึม
Image result for ซอด้วง  Image result for ซอสามสาย

เครื่องตี
-กรับ ได้แก่ กรับพวง และ กรับเสภา
-ระนาด ได้แก่ ระนาดเอก,ระนาดทุ้ม,ระนาดเอกมโหรี,ระนาดทุ้มมโหรี,ระนาดเอกเหล็ก,ระนาดทุ้มเหล็ก,ระนาดแก้ว
-ฆ้อง ได้แก่ ฆ้องมโหรี,ฆ้องมอญ,ฆ้องวงใหญ่ ,ฆ้องวงเล็ก,ฆ้องโหม่ง,ฆ้องกระแต,ฆ้องระเบ็ง
-ขิม
-ฉาบ
-ฉิ่ง
-กลอง ได้แก่ กลองแขก,กลองมลายู,ตะโพน,ตะโพนมอญ,กลองทัด,กลองตุ๊ก,กลองยาว,มโหระทึก,บัณเฑาะว์,โทน,รำมะนา,โทนชาตรี,กลองสองหน้า,เปิงมางคอก,กลองมังคละ

Image result for ระนาด Image result for มโหระทึก


เครื่องเป่า
-ขลุ่ย ได้แก่ ขลุ่ยหลิบ,ขลุ่ยเพียงออ,ขลุ่ยอู้
-ปี่ ได้แก่ ปี่ใน,ปี่นอก,ปี่ไฉน,ปี่ชวา,ปี่มอญ

Image result for ขลุ่ย  Image result for ปี่


เพลงดนตรีไทย
  แบ่งได้เป็น 4 แบบคือ

เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่เพลงที่บรรเลงประกอบเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของมนุษย์ ของสัตว์ ของวัตถุต่าง ๆ และอื่น ๆ
เพลงขับร้อง ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยบังโฟมมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น
เพลงละคร หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น

เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน

อ้างอิง th.wikipedia.org สืบค้นเมื่อ 22 มี.ค. 60

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ดนตรีไทย

     ดนตรีไทย   เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศต่าง ๆ เช่น  อินเดีย ,  จีน ,  อินโดนีเซีย  และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเ...